น.ส.กัลลิญา เขียดน้อย เลขที่ 7 สังคมศึกษา 542

วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เทคโนโลยีสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต




ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)
            ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมประมวล เก็บรักษา และเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศโดยรวมทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล และการสื่อสาร โทรคมนาคม

ความหมายของข้อมูล
            ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ หรือข้อมูลดิบที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล ยังไม่มีความหมายในการนำไปใช้งาน ข้อมูลอาจเป็นตัวเลข ตัวอักษร สัญลักษณ์ รูปภาพ เสียง หรือภาพเคลื่อนไหว

ความหมายของสารสนเทศ
            สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ได้ผ่านการประมวลผลหรือจัดระบบแล้ว เพื่อให้มีความหมายและคุณค่าสำหรับผู้ใช้

องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ 
              มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ฮาร์ดแวร์   ซอฟต์แวร์   ข้อมูล บุคลากร และขั้นตอนการปฏิบัติงาน



 -  ฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบสำคัญ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รอบข้าง
 -   ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นชุดคำสั่งที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน
 -  ข้อมูล เป็นส่วนที่จะนำไปจัดเก็บในเครื่องคอมพิวเตอร์
 -  บุคลากรเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานคอมพิวเตอร์
 -  ขั้นตอนการปฏิบัติงาน เป็นสิ่งที่จะต้องเข้าใจเพื่อให้ทำงานได้ถูกต้องเป็นระบบ  

ประเภทของคอมพิวเตอร์
            ประเภทของคอมพิวเตอร์แบ่งตามความสามารถในการเก็บข้อมูลและความเร็วในการประมวลผล ได้ 4 ประเภท คือ
          1. ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputerเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง มีขนาดของความจำมาก ตั้งอยู่ในห้องที่สามารถปรับอุณหภูมิได้ การใช้งานคอมพิวเตอร์ประเภทนี้มักในงานวิจัย เช่น การวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียม การพยากรณ์อากาศ และงานอื่นๆที่มีการคำนวณซับซ้อน


             2. เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพรองลงมาจากซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถเชื่อมโยงกับคอมพิวเตอร์ปลายทางได้จำนวนมาก ทำให้ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้พร้อมกันหลายร้อยคน จึงมักใช้ในองค์กรขนาดใหญ่


             3. มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดกลางที่มีประสิทธิภาพน้อยกว่าเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ แต่สูงกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ มักพบในองค์กรที่ใช้งานเฉพาะด้าน เช่น ประมวลผลงานบัญชี โดยนำไปเชื่อมต่อกับเครื่องปลายทางได้หลายคน โดยมีการประมวลผลที่อยู่ส่วนกลาง แล้วส่งผลไปที่เครื่องปลายทาง โดยที่เครื่องปลายทางไม่ต้องประมวลผลเอง

             4. ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอย่างแพร่หลาย ทั้งคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลแบบตั้งโต๊ะ ซึ่งเหมาะกับการทำงานในสำนักงาน สถานศึกษา ที่บ้าน หรือคอมพิวเตอร์แบบพกพาไปในสถานที่ต่างๆ ได้ เช่น  โน๊ตบุ๊ค เป็นต้น


วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์

          สมัยโบราณมนุษย์รู้จักการนับด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น นับเศษไม้ ก้อนหิน ลูกปัด การใช้นิ้วมือ การขีดเป็นรอย ชาวจีนคิดประดิษฐ์เครื่องมือนับเรียกว่า ลูกคิด” (Abacus) โดยได้แนวคิดจากการเอาลูกปัดร้อยเก็บเป็นพวงในสมัยโบราณ จึงนับได้ว่าลูกคิดเป็นเครื่องมือนับที่มนุษย์คิดขึ้นเป็นสิ่งแรกของโลกเมื่อประมาณ 500 ปีก่อนคริสต์ศักราช และยังคงเป็นที่นิยมใช้กันอยู่จนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฝึกคิดคำนวณของเด็ก ๆ ที่ฉลาด ครูได้นำเอาลูกคิดมาใช้ช่วยในการฝึกคิดให้กับเด็กและได้ผลดีเป็นอย่างยิ่ง

          -  ยุคแรก  อยู่ระหว่างปี  พ.ศ. 2488  ถึง  พ.ศ. 2501  เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสุญญากาศซึ่งใช้กำลังไฟฟ้าสูง  จึงมีปัญหาเรื่องความร้อนและไส้หลอดขาดบ่อย  ถึงแม้จะมีระบบระบายความร้อนที่ดีมาก  การสั่งงานใช้ภาษาเครื่องซึ่งเป็นรหัสตัวเลขยุ่งยากซับซ้อน
            -  ยุคที่สอง  อยู่ระหว่างปี  พ.ศ. 2502 ถึง  พ.ศ. 2506  เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์  โดยมีแกนเฟอร์ไรท์เป็นหน่วยความจำ  มีอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองของสื่อบันทึกแม่เหล็ก
          -  ยุคที่สาม อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2507 ถึง พ.ศ. 2512  เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวม IC โดยวงจรแต่ละตัวจะมีทรานซิสเตอร์
          -  ยุคที่สี่  ตั้งแต่ปี  พ.ศ.2513 ถึง  จนถึงปัจจุบัน  เป็นยุคคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวมความจุสูงมาก
            -  ยุคที่ห้า  เป็นคอมพิวเตอร์ที่มนุษย์พยายามนำมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจและการแก้ปัญหาให้ดียิ่งขึ้น  โดยมีการเก็บความรู้ต่าง ๆ เข้าไว้ในเครื่อง


อินเทอร์เน็ตเบื้องต้น


          อินเทอร์เน็ตคือระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่เชื่อมโยงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มากกว่า 2 เครื่องทั่วโลกเข้าด้วยกัน อินเทอร์เน็ตเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศที่ถือกำเนิดเมื่อประมาณ 30 ปีที่แล้ว ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. 2512 โดยองค์กรทางทหารของสหรัฐอเมริกา ชื่อว่า ยู.เอส.ดีเฟนซ์ ดีพาร์ทเมนท์ ( U.S. Defence Department ) เป็นผู้คิดค้นระบบขึ้นมา มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อให้มีระบบเครือข่ายที่ไม่มีวันตายแม้จะมีสงคราม ระบบการสื่อสารถูกทำลาย หรือตัดขาด แต่ระบบเครือข่ายแบบนี้ยังทำงานได้ ซึ่งระบบดังกล่าวจะใช้วิธีการส่งข้อมูลในรูปของคลื่นไมโครเวฟ ฝ่ายวิจัยขององค์กรจึงได้จัดตั้งระบบเน็ตเวิร์กขึ้นมา เรียกว่า ARPAnet ย่อมาจากคำว่า Advance Research Project Agency net ซึ่งประสบความสำเร็จและได้รับความนิยมในหมู่ของหน่วยงานทหาร องค์กร รัฐบาล และสถาบันการศึกษาต่างๆ เป็นอย่างมาก
           อินทราเน็ต  ( Intranet)  คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันภายในองค์กรเดียวกัน
           เอ็กซ์ทราเน็ต  คือ  ระบบเครือข่ายที่เชื่อมระหว่างองค์กรต่างๆ ที่มีอินทราเน็ตเข้าด้วยกัน

ระบบชื่อโดเมน (Domain name server)


            - DNS ย่อมาจาก Domain Name System คือระบบลำดับชั้นแบบกระจายของชื่อของทรัพยากรในระบบคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อเครือข่าย
            - Name Server มีหน้าที่หลักในการแปลชื่อทรัพยากรเป็นที่อยู่ไอพี (IP address) เพื่อให้ผู้ใช้งานจดจำเพียงชื่อทรัพยากรแทนการจดจำที่อยู่ไอพีที่เป็นตัวเลขอาจจะทำให้สับสนได้ และยังมีหน้าที่ในการแปลที่อยู่ไอพีไปเป็นชื่อโฮสต์ (Host name) ที่เรียกว่า "Reverse Lookup"
            - Domain name เป็นชื่อที่ใช้ระบุกลุ่มทรัพยากรเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งใน DNS เพื่อให้จดจำได้ง่าย โดยชื่อต่างๆจะมีผู้ดูแลบัญชี (Registrar) เป็นผู้ดูแลจัดการ ระบบชื่อโดเมน มีประโยชน์เพื่อให้ระบบการเรียกชื่อง่ายขึ้น และการบริหารเครือข่ายทำได้ดีจึงมีการกำหนดชื่อแทนรหัส IP โดยมีการตั้งชื่อสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง

 Domain name ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน เช่น
            .com  คือ  กลุ่มธุรกิจการค้า
            .edu   คือ  กลุ่มการศึกษา
            .gor    คือ กลุ่มองค์กรรัฐบาล

Domain name ชื่อย่อของประเทศ เช่น
            .th      คือ Thailand
            .hk     คือ  Hong Kong   
            .jp คือ japan                                                                                    
            .sg  คือ  Singapore

 Sub Domain เช่น
            .co    คือ องค์การธุรกิจ
            .ac    คือ สถาบันการศึกษา
            .go    คือ หน่วยงานรัฐบาล
            .or     คือ องค์กรอื่น ๆ

       โปรโตคอล  คือ  มาตรฐานที่ใช้ในการสื่อสารบนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ คือ  ภาษาที่ใช้สื่อสารบนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
       Freeware  คือ  โปรแกรมฟรี
       Shareware  คือ  โปรแกรมที่ใช้ดาวน์โหลดเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
         WWW ( World  Wide  Web )  คือ  เป็นบริการหนึ่งบนอินเทอร์เน็ตได้รับความนิยมมากที่สุดบริการหนึ่ง
         HTTP (  Hypertext  Transfer  Protocol  ) คือ  เป็นโปรโตคอลที่กำหนดวิธีการติดต่อสื่อสารระหว่างบราวเซอร์และเว็บเซอร์ฟเวอร์
         URL  คือ  ที่อยู่หน้าเว็บเพจ
         เว็บไซต์  Website  คือ แหล่งที่เก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารและสื่อประสมต่าง ๆ เช่น ภาพ เสียง ข้อความ
         เว็บเพจ  คือ  คำที่ใช้เรียกแทนหน้าเอกสาร HTML
         โฮมเพจ  คือ  เหน้าแรก
         HTML  คือ  เป็นภาษาที่ใช้สำหรับเขียนเว็บเพจ
         โปรแกรมบราวเซอร์  เป็นโปรแกรมสำหรับท่องเว็บบนอินเทอร์เน็ต


วันศุกร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา







การวิเคราะห์ปัญหาเชิงระบบ

การแก้ปัญหาด้วยวิธีการเชิงระบบ
            หลักการแก้ปัญหาอย่างมีขั้นตอนนั้นบางครั้งเราเรียกว่า การแก้ปัญหาเชิงระบบ(System Approach) ซึ่งเป็น กระบวนการในการแก้ปัญหาอย่างมีขั้นตอนที่สามารถใช้เป็นหลักการ ได้กับปัญหาทุกปัญหา เราสามารถแยกเป็น     ขั้นตอนต่างๆได้ดังนี้
1. การแยกแยะและทำความเข้าใจในปัญหา
2. การพัฒนาวิธีกาiแก้ปัญหา
3. เลือกวิธีการที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด
4. ออกแบบวิธีการแก้ปัญหาที่เลือกใช้
5. นำวิธีการที่ออกแบบไปใช้ในการแก้ปัญหาและประเมินถึงผลที่ได้

 การแยกแยะและทำความเข้าใจปัญหา
            ขั้นตอนแรกสุดของการแก้ปัญหาเชิงระบบ คือ การแยกแยะและทำความเข้าใจถึงปัญหา เราอาจนิยามความหมายของปัญหาได้ว่า ปัญหา คือ เงื่อนไขที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ไม่ต้องการ การทำความเข้าใจถึงปัญหานั้นจะต้องคิดอย่างเชิงระบบ
            การคิดเชิงระบบ คือ การมองปัญหาต่างๆที่พบอย่างเป็นระบบ โดยอาจจะแบ่งเป็นระบบย่อยที่ประกอบขึ้นจากส่วนประกอบของระบบในทุกสถานการณ์ ที่เรากำลังศึกษาอยู่นอกจากนี้ยังมีระบบอื่นที่อาจมีผลกระทบต่อระบบที่กำลังพิจารณาแวดล้อมอยู่ การคิดในลักษณะนี้จะทำให้เราแน่ใจได้ว่า ในการพิจารณาถึงปัญหานั้น ปัจจัยที่สำคัญและความสัมพันธ์ ระหว่างส่วนประกอบต่างๆ ได้ถูกนำมาพิจารณาอย่างครบถ้วน สมบูรณ์ ตัวอย่างเช่น เมื่อองค์กรทางธุรกิจเกิดปัญหาขึ้นนั้น เราจะมองธุรกิจนั้นว่าเป็นระบบที่ประกอบด้วยส่วนนำเข้า ส่วนประมวลผล ส่วนแสดงผล ส่วนป้อนกลับ และส่วนควบคุม ในการทำความเข้าใจถึงปัญหา และการแก้ปัญหานั้น เราอาจจะต้องแยกธุรกิจนั้นออกเป็นส่วนงานย่อย แล้วทำการศึกษาแยกแยะ ถึงการทำงานปกติ ของระบบว่าเป็นอย่างไร มีกระบวนการในการปฏิบัติงานอย่างไร เพื่อหาสาเหตุของปัญหานั้นๆ

พัฒนาวิธีการแก้ปัญหาเผื่อเลือก
            เมื่อเข้าใจโจทย์ชัดเจนแล้ว สิ่งที่ผู้แก้ปัญหาต้องทำในขั้นต่อไปคือ การหาวิธีการแก้ปัญหา อาจจะทำได้หลายวิธี แต่ก่อนจะแก้ปัญหาต้องพิจารณาปัญหานั้นๆให้ดีเสียก่อน เช่นในการเปรียบเทียบของข้อได้เปรียบหรือข้อเสียเปรียบในทางเลือกต่างๆ
            ทางเลือกต่างๆที่ดีที่สุดคือ ประสบการณ์ วิธีการที่เคยใช้ปฏิบัติมาแล้ว หรือเคยพิจารณามาแล้ว ควรนำมาพิจารณาใหม่อีกในสถานการณ์ขณะนั้น ว่ายังสามารถนำมาใช้ได้หรือไม่ แหล่งของทางเลือกที่ดีอีกแหล่งหนึ่งคือ คำแนะนำจากบุคคลอื่น รวมทั้งคำแนะนำจากที่ปรึกษา หรือข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญ แต่อย่างไรก็ตาม ผู้แก้ปัญหาเองก็ต้องใช้สัญชาตญาณและแนวคิดของตัวเองในการหาวิธีแก้ปัญหาด้วยเช่นกัน

การประเมินทางเลือกหรือวิธีการ
            เมื่อหาวิธีการในการแก้ปัญหาได้หลายวิธีมาแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือ การเลือกวิธีการที่ดีที่สุดจาก วิธีการที่เลือกมา เพราะวิธีการที่ดีสำหรับปัญหาหนึ่งอาจจะไม่ใช่วิธีการที่ดีสำหรับอีกปัญหาหนึ่ง เพราะปัญหาต่างๆ จะอยู่ในสภาวะแวดล้อม เงื่อนไข ข้อจำกัดที่ไม่เหมือนกัน เราจึงต้องทำการประเมินวิธีการที่เลือกมาเพื่อหาวิธีการที่ดีที่สุด วิธีการประเมินที่ดีที่สุดก็คือ การแยกแยะว่าวิธีต่างๆ นั้น แก้ปัญหาได้ตรงตามความต้องการเพียงใด ภายใต้เงื่อนไขและข้อจำกัดต่างๆ อันเดียวกัน
            เงื่อนไขต่างๆ ในการแก้ปัญหามีมากมาย เราอาจจัดลำดับความสำคัญโดยการให้น้ำหนัก กับเงื่อนไขแต่ละเงื่อนไขโดยพิจารณาถึงการตอบสนองต่อการแก้ปัญหา การประเมินวิธีการต่างๆ นิยมหาเป็นตัวเลขที่บ่งบอกถึงความสามารถ ประสิทธิภาพของทางเลือกในด้านต่างๆ เพื่อให้ง่ายต่อการประเมินและการเปรียบเทียบในขั้นตอนต่อไป

ออกแบบวิธีการแก้ปัญหาที่เลือกใช้
การเลือกวิธีที่ดีที่สุด
            ในการเลือกวิธีนั้น เราอาจไม่เลือกวิธีการที่ดีที่สุดจากการเปรียบเทียบก็ได้ ทั้งนี้อาจจะมาจากเงื่อนไขและ     ข้อจำกัดอื่นๆ เช่น เงื่อนไขทางกฎหมาย ทางการเมือง ทางการเงินที่ไม่สามารถคาดเดาได้ บางครั้งทุกวิธีการที่เลือกมาอาจ ไม่สามารถนำมาใช้ได้ ทำให้ต้องหาวิธีการอื่นๆ และทำการประเมินใหม่ก็ได้
            จากตัวอย่างการเดินทางมาโรงเรียนนั้น การเลือกวิธีการโดยไม่คำนึงถึงข้อจำกัดต่างๆ การเลือกวิธีการใช้รถส่วนตัวจะดีที่สุด แต่ไม่ใช่ว่านักเรียนทุกคนจะมีรถส่วนตัว นี่เป็นเงื่อนไข หรือข้อจำกัดที่ทำให้ต้องเลือกวิธีอื่นๆ แต่หากมีเงื่อนไขที่ประกอบ เพิ่มขึ้น นักเรียนอาจจะเลือกวิธีอื่นๆ เช่น หากใกล้เวลาเข้าเรียน เพื่อไปให้ทันโรงเรียน คนที่ไม่มีรถส่วนตัวของคุณพ่อคุณแม่ มาส่งก็จะต้องเลือกรถแท๊กซี่ เพื่อมาให้ทันโรงเรียนเข้า

นำวิธีการที่เลือกไปใช้ในการแก้ปัญหา
            หลังจากได้วิธีการแก้ปัญหามาแล้วผู้แก้ปัญหาก็จะนำวิธีการที่เลือกมานั้นไปออกแบบ เป็นกระบวนการปฏิบัติจริงในการแก้ปัญหา ในขั้นตอนนี้ เราอาจต้องอาศัยความร่วมมือ จากคนอื่นๆในระบบหรือฝ่ายเทคนิคมาช่วย ในการออกแบบวิธี การตลอดจนการนำไป ใช้ได้จริง ขั้นตอนการออกแบบจะเป็นขั้นตอน ที่จะกำหนดรายละเอียดและความสามารถ ของบุคลากร ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูล และงานของระบบสารสนเทศ

 บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศในการแก้ปัญหา
            ในการแก้ปัญหาโดยวิธีการเชิงระบบนั้น เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาท ในหลายขั้นตอน ทั้งช่วยในการสร้างสารสนเทศให้กับผู้แก้ปัญหาประกอบการพิจารณา หาทางเลือกการประเมินทางเลือก และเป็นเครื่องมือช่วยแก้ปัญหาดังนี้
            1. บทบาทในการสร้างสารสนเทศ - ในขั้นตอนของการหาวิธีการแก้ปัญหานั้น เราได้ทราบมาแล้วว่าผู้แก้ปัญหาจะต้องหาทางเลือกในการแก้ปัญหา และแหล่งที่เป็นทางเลือกที่ดีที่สุด คือ ประสบการณ์ รวมทั้งคำแนะนำจากผู้มีประสบการณ์ แต่ยังมีสิ่งที่นำมาประกอบการพิจารณาหาวิธีการแก่ปัญหาคือ สารสนเทศที่เกี่ยวข้อง กับงานนั้นๆ สารสนเทศเหล่านี้ได้มาจากระบวนการการปฏิบัติงานในระบบ ซึ่งระบบงานอาจมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอยู่ เราก็จะใช้สารสนเทศนั้นมาประกอบได้

            2. บทบาทในการใช้เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา - คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องที่สามารถ นำมาปฏิบัติงานแทนมนุษย์ได้ในทุกลักษณะ เมื่อเราเลือกวิธีการแก้ปัญหาแล้ว เราสามารถ นำเอาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้เป็นเครื่องมือปฏิบัติงานตามวิธีการที่เลือกเพื่อแก้ ปัญหา โดยการนำเอาวิธีการมาออกแบบเป็นระบบคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และบุคลากร โดยผู้เชี่ยวชาญทางระบบสารสนเทศ แล้วจัดซื้อจัดหา ส่วนประกอบเหล่านั้นมาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้


วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยี

ความหมายของนวัตกรรม (Innovation)
            นวัตกรรม” (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา นวัตกรรม หรือ นวกรรม มาจากคำว่า นวกับ กรรมซึ่ง นว หมายถึง ใหม่และ กรรม หมายถึง การกระทำ เมื่อนำสองคำนี้มารวมกันมีความหมายก็คือ  การทำใหม่ๆ หรือการพัฒนาปรับปรุงหรือดัดแปลงจากสิ่งใดๆ แล้วทำให้สิ่งนั้นมีประสิทธิภาพการใช้งานที่ดีขึ้น

หลักในการพิจารณาการเป็นนวัตกรรม
            1. การคัดเลือกสิ่งที่นำมาเป็นนวัตกรรมต้องเป็นสิ่งที่มีจุดเด่น สามารถทำงานได้ดีกว่าเดิม
            2. ต้องมีการคัดเลือกว่าสิ่งที่นำมานั้นมีความเหมาะสมกับการใบ้งานนั้นๆ
            3. ในการที่จะนำอะไรสักอย่างมาทำเป็นนวัตกรรม ต้องมีการวิจัยว่าสามารถใช้ได้ผลจริง
            4. สิ่งที่จะนำมาเป็นนวัตกรรมนั้นตรงความต้องการของผู้ใช้หรือไม่

ประเภทของนวัตกรรม มี 2 ประเภท ได้แก่
            1. นวัตกรรมที่เป็นสิ่งใหม่หมด ก็คือ นวัตกรรมที่ถูกคิดค้นขึ้นมาใหม่หมดทั้งระบบ และไม่เคยปรากฏที่ใดมาก่อน
            2. นวัตกรรมที่เป็นสิ่งใหม่บางส่วน ซึ่งก็คือนวัตกรรมที่อาจจะใช้ยังไม่ได้ผลที่ดีพอจึงมีการนำมาแก้ไขปรับปรุง ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
            ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น
            ระยะที่ 2 พัฒนาการ มีการทำลองในแหล่งทดลอง
            ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป   

 นวัตกรรมการศึกษา (Education innovation)
            “นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation )” หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) และอินเทอร์เน็ต เหล่านี้ เป็นต้น

แนวคิดที่ทำให้เกิดนวัตกรรมทางการศึกษา
            1. นวัตกรรมนั้นถือเป็นสิ่งแปลกใหม่ จึงส่งผลโดยตรงต่อความท้าทายของผู้ทำการวิจัยที่จะมาทำการวิจัย
            2. ผู้ที่ทำการวิจัยต้องการพิสูจน์เพื่อให้เห็นผลว่าจะสามารถใช้ได้ผลจริงหรือไม่อย่างไร
            3. มีเหตุปัจจัยโดยตรงจากการทดลองและวิจัยเพื่อที่นำมาเพื่อแก้ปัญหาทางการศึกษา

ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา มี 5 ประเภทได้แก่
            มีทั้งประเภทที่เป็นนวัตกรรมแบบใหม่หมดและนวัตกรรมที่เป็นแบบใหม่บางส่วนโดยแบ่งเป็น 5 ประเภท ได้แก่
1. นวัตกรรมด้านสื่อสารการสอน
            เช่น       - บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน     - หนังสืออิเล็คทรอนิค  
                        - บทเรียนCD/VCD                      - คู่มือการทำงานกลุ่ม
2. นวัตกรรมด้านวิธีการจัดการเรียนการสอน
            เช่น       - การสอนแบบร่วมมือ                  - การสอนแบบอภิปราย
                        - วิธีสอนแบบบทบาทสมมุติ         - การสอนด้วยรูปแบบการเรียนเป็นคู่ 
3. นวัตกรรมด้านหลักสูตร
            เช่น       - หลักสูตรสาระเพิ่มเติม               - หลักสูตรท้องถิ่น
                        - หลักสูตรการฝึกอบรม                - หลักสูตรกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
 4. นวัตกรรมด้านการวัดและการประเมินผล
            เช่น       - การสร้างแบบวัดต่างๆ               - การสร้างเครื่องมือ
                        - การประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
            แนวทางในการสร้างแบบวัดผลและประเมินผลเช่น
                        - การสร้างแบบวัดแววครู             - การพัฒนาคลังข้อสอบ 
                        - การสร้างแบบวัดความมีวินัยในตนเอง              
5. นวัตกรรมด้านการบริหารจัดการ
            เช่น       - การบริหารเชิงระบบ                   - การบริหารเชิงกลยุทธ์
                        - การบริหารเชิงบูรณาการ

ความหมายของเทคโนโลยี
            เทคโนโลยี หมายถึง หลักการ เทคนิค วิธีการ กระบวนการ ตลอดจนผลงานทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในระบบงานต่างๆ เพื่องานนั้นๆ ดีขึ้น มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

 ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา

            เทคโนโลยีการศึกษา หมายถึง การนำเอาหลักแนวคิด วิธีการต่างๆที่ตั้งอยู่บนรากฐานทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เข้ากับกระบวนการจัดการศึกษา มีวัตถุประสงค์ให้ผู้เรียนมีกระบวนการเรียนการที่แปลกใหม่ และได้พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง