การแก้ปัญหาด้วยวิธีการเชิงระบบ
หลักการแก้ปัญหาอย่างมีขั้นตอนนั้นบางครั้งเราเรียกว่า
การแก้ปัญหาเชิงระบบ(System Approach)
ซึ่งเป็น กระบวนการในการแก้ปัญหาอย่างมีขั้นตอนที่สามารถใช้เป็นหลักการ
ได้กับปัญหาทุกปัญหา เราสามารถแยกเป็น ขั้นตอนต่างๆได้ดังนี้
1. การแยกแยะและทำความเข้าใจในปัญหา
2. การพัฒนาวิธีกาiแก้ปัญหา
3. เลือกวิธีการที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด
4. ออกแบบวิธีการแก้ปัญหาที่เลือกใช้
5. นำวิธีการที่ออกแบบไปใช้ในการแก้ปัญหาและประเมินถึงผลที่ได้
การแยกแยะและทำความเข้าใจปัญหา
ขั้นตอนแรกสุดของการแก้ปัญหาเชิงระบบ
คือ การแยกแยะและทำความเข้าใจถึงปัญหา เราอาจนิยามความหมายของปัญหาได้ว่า ปัญหา
คือ เงื่อนไขที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ไม่ต้องการ
การทำความเข้าใจถึงปัญหานั้นจะต้องคิดอย่างเชิงระบบ
การคิดเชิงระบบ
คือ การมองปัญหาต่างๆที่พบอย่างเป็นระบบ โดยอาจจะแบ่งเป็นระบบย่อยที่ประกอบขึ้นจากส่วนประกอบของระบบในทุกสถานการณ์
ที่เรากำลังศึกษาอยู่นอกจากนี้ยังมีระบบอื่นที่อาจมีผลกระทบต่อระบบที่กำลังพิจารณาแวดล้อมอยู่
การคิดในลักษณะนี้จะทำให้เราแน่ใจได้ว่า ในการพิจารณาถึงปัญหานั้น
ปัจจัยที่สำคัญและความสัมพันธ์ ระหว่างส่วนประกอบต่างๆ
ได้ถูกนำมาพิจารณาอย่างครบถ้วน สมบูรณ์ ตัวอย่างเช่น
เมื่อองค์กรทางธุรกิจเกิดปัญหาขึ้นนั้น
เราจะมองธุรกิจนั้นว่าเป็นระบบที่ประกอบด้วยส่วนนำเข้า ส่วนประมวลผล ส่วนแสดงผล
ส่วนป้อนกลับ และส่วนควบคุม ในการทำความเข้าใจถึงปัญหา และการแก้ปัญหานั้น เราอาจจะต้องแยกธุรกิจนั้นออกเป็นส่วนงานย่อย
แล้วทำการศึกษาแยกแยะ ถึงการทำงานปกติ ของระบบว่าเป็นอย่างไร
มีกระบวนการในการปฏิบัติงานอย่างไร เพื่อหาสาเหตุของปัญหานั้นๆ
พัฒนาวิธีการแก้ปัญหาเผื่อเลือก
เมื่อเข้าใจโจทย์ชัดเจนแล้ว
สิ่งที่ผู้แก้ปัญหาต้องทำในขั้นต่อไปคือ การหาวิธีการแก้ปัญหา อาจจะทำได้หลายวิธี
แต่ก่อนจะแก้ปัญหาต้องพิจารณาปัญหานั้นๆให้ดีเสียก่อน
เช่นในการเปรียบเทียบของข้อได้เปรียบหรือข้อเสียเปรียบในทางเลือกต่างๆ
ทางเลือกต่างๆที่ดีที่สุดคือ
ประสบการณ์ วิธีการที่เคยใช้ปฏิบัติมาแล้ว หรือเคยพิจารณามาแล้ว
ควรนำมาพิจารณาใหม่อีกในสถานการณ์ขณะนั้น ว่ายังสามารถนำมาใช้ได้หรือไม่
แหล่งของทางเลือกที่ดีอีกแหล่งหนึ่งคือ คำแนะนำจากบุคคลอื่น
รวมทั้งคำแนะนำจากที่ปรึกษา หรือข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญ แต่อย่างไรก็ตาม
ผู้แก้ปัญหาเองก็ต้องใช้สัญชาตญาณและแนวคิดของตัวเองในการหาวิธีแก้ปัญหาด้วยเช่นกัน
การประเมินทางเลือกหรือวิธีการ
เมื่อหาวิธีการในการแก้ปัญหาได้หลายวิธีมาแล้ว
ขั้นตอนต่อไปก็คือ การเลือกวิธีการที่ดีที่สุดจาก วิธีการที่เลือกมา
เพราะวิธีการที่ดีสำหรับปัญหาหนึ่งอาจจะไม่ใช่วิธีการที่ดีสำหรับอีกปัญหาหนึ่ง
เพราะปัญหาต่างๆ จะอยู่ในสภาวะแวดล้อม เงื่อนไข ข้อจำกัดที่ไม่เหมือนกัน
เราจึงต้องทำการประเมินวิธีการที่เลือกมาเพื่อหาวิธีการที่ดีที่สุด
วิธีการประเมินที่ดีที่สุดก็คือ การแยกแยะว่าวิธีต่างๆ นั้น
แก้ปัญหาได้ตรงตามความต้องการเพียงใด ภายใต้เงื่อนไขและข้อจำกัดต่างๆ อันเดียวกัน
เงื่อนไขต่างๆ
ในการแก้ปัญหามีมากมาย เราอาจจัดลำดับความสำคัญโดยการให้น้ำหนัก
กับเงื่อนไขแต่ละเงื่อนไขโดยพิจารณาถึงการตอบสนองต่อการแก้ปัญหา
การประเมินวิธีการต่างๆ นิยมหาเป็นตัวเลขที่บ่งบอกถึงความสามารถ
ประสิทธิภาพของทางเลือกในด้านต่างๆ
เพื่อให้ง่ายต่อการประเมินและการเปรียบเทียบในขั้นตอนต่อไป
ออกแบบวิธีการแก้ปัญหาที่เลือกใช้
การเลือกวิธีที่ดีที่สุด
ในการเลือกวิธีนั้น
เราอาจไม่เลือกวิธีการที่ดีที่สุดจากการเปรียบเทียบก็ได้
ทั้งนี้อาจจะมาจากเงื่อนไขและ ข้อจำกัดอื่นๆ เช่น เงื่อนไขทางกฎหมาย ทางการเมือง
ทางการเงินที่ไม่สามารถคาดเดาได้ บางครั้งทุกวิธีการที่เลือกมาอาจ
ไม่สามารถนำมาใช้ได้ ทำให้ต้องหาวิธีการอื่นๆ และทำการประเมินใหม่ก็ได้
จากตัวอย่างการเดินทางมาโรงเรียนนั้น
การเลือกวิธีการโดยไม่คำนึงถึงข้อจำกัดต่างๆ การเลือกวิธีการใช้รถส่วนตัวจะดีที่สุด
แต่ไม่ใช่ว่านักเรียนทุกคนจะมีรถส่วนตัว นี่เป็นเงื่อนไข
หรือข้อจำกัดที่ทำให้ต้องเลือกวิธีอื่นๆ แต่หากมีเงื่อนไขที่ประกอบ เพิ่มขึ้น
นักเรียนอาจจะเลือกวิธีอื่นๆ เช่น หากใกล้เวลาเข้าเรียน เพื่อไปให้ทันโรงเรียน
คนที่ไม่มีรถส่วนตัวของคุณพ่อคุณแม่ มาส่งก็จะต้องเลือกรถแท๊กซี่
เพื่อมาให้ทันโรงเรียนเข้า
นำวิธีการที่เลือกไปใช้ในการแก้ปัญหา
หลังจากได้วิธีการแก้ปัญหามาแล้วผู้แก้ปัญหาก็จะนำวิธีการที่เลือกมานั้นไปออกแบบ
เป็นกระบวนการปฏิบัติจริงในการแก้ปัญหา ในขั้นตอนนี้ เราอาจต้องอาศัยความร่วมมือ จากคนอื่นๆในระบบหรือฝ่ายเทคนิคมาช่วย
ในการออกแบบวิธี การตลอดจนการนำไป ใช้ได้จริง ขั้นตอนการออกแบบจะเป็นขั้นตอน
ที่จะกำหนดรายละเอียดและความสามารถ ของบุคลากร ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูล
และงานของระบบสารสนเทศ
บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศในการแก้ปัญหา
ในการแก้ปัญหาโดยวิธีการเชิงระบบนั้น
เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาท ในหลายขั้นตอน
ทั้งช่วยในการสร้างสารสนเทศให้กับผู้แก้ปัญหาประกอบการพิจารณา
หาทางเลือกการประเมินทางเลือก และเป็นเครื่องมือช่วยแก้ปัญหาดังนี้
1. บทบาทในการสร้างสารสนเทศ -
ในขั้นตอนของการหาวิธีการแก้ปัญหานั้น
เราได้ทราบมาแล้วว่าผู้แก้ปัญหาจะต้องหาทางเลือกในการแก้ปัญหา
และแหล่งที่เป็นทางเลือกที่ดีที่สุด คือ ประสบการณ์
รวมทั้งคำแนะนำจากผู้มีประสบการณ์
แต่ยังมีสิ่งที่นำมาประกอบการพิจารณาหาวิธีการแก่ปัญหาคือ สารสนเทศที่เกี่ยวข้อง
กับงานนั้นๆ สารสนเทศเหล่านี้ได้มาจากระบวนการการปฏิบัติงานในระบบ
ซึ่งระบบงานอาจมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอยู่ เราก็จะใช้สารสนเทศนั้นมาประกอบได้
2. บทบาทในการใช้เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา - คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องที่สามารถ
นำมาปฏิบัติงานแทนมนุษย์ได้ในทุกลักษณะ เมื่อเราเลือกวิธีการแก้ปัญหาแล้ว
เราสามารถ นำเอาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้เป็นเครื่องมือปฏิบัติงานตามวิธีการที่เลือกเพื่อแก้
ปัญหา โดยการนำเอาวิธีการมาออกแบบเป็นระบบคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย ฮาร์ดแวร์
ซอฟต์แวร์ และบุคลากร โดยผู้เชี่ยวชาญทางระบบสารสนเทศ แล้วจัดซื้อจัดหา
ส่วนประกอบเหล่านั้นมาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้
Webmaster : Kanliya K. Social Study542
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น