ความหมายของนวัตกรรม (Innovation)
“นวัตกรรม”
(Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน
แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา นวัตกรรม หรือ นวกรรม มาจากคำว่า “นว”
กับ “กรรม” ซึ่ง นว
หมายถึง ใหม่และ กรรม หมายถึง การกระทำ
เมื่อนำสองคำนี้มารวมกันมีความหมายก็คือ
การทำใหม่ๆ หรือการพัฒนาปรับปรุงหรือดัดแปลงจากสิ่งใดๆ
แล้วทำให้สิ่งนั้นมีประสิทธิภาพการใช้งานที่ดีขึ้น
หลักในการพิจารณาการเป็นนวัตกรรม
1. การคัดเลือกสิ่งที่นำมาเป็นนวัตกรรมต้องเป็นสิ่งที่มีจุดเด่น
สามารถทำงานได้ดีกว่าเดิม
2. ต้องมีการคัดเลือกว่าสิ่งที่นำมานั้นมีความเหมาะสมกับการใบ้งานนั้นๆ
3. ในการที่จะนำอะไรสักอย่างมาทำเป็นนวัตกรรม
ต้องมีการวิจัยว่าสามารถใช้ได้ผลจริง
4. สิ่งที่จะนำมาเป็นนวัตกรรมนั้นตรงความต้องการของผู้ใช้หรือไม่
ประเภทของนวัตกรรม มี 2 ประเภท ได้แก่
1.
นวัตกรรมที่เป็นสิ่งใหม่หมด ก็คือ
นวัตกรรมที่ถูกคิดค้นขึ้นมาใหม่หมดทั้งระบบ และไม่เคยปรากฏที่ใดมาก่อน
2.
นวัตกรรมที่เป็นสิ่งใหม่บางส่วน
ซึ่งก็คือนวัตกรรมที่อาจจะใช้ยังไม่ได้ผลที่ดีพอจึงมีการนำมาแก้ไขปรับปรุง
ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่
1
มีการประดิษฐ์คิดค้น
ระยะที่
2 พัฒนาการ มีการทำลองในแหล่งทดลอง
ระยะที่
3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป
นวัตกรรมการศึกษา (Education innovation)
“นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation )” หมายถึง
นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เช่น
การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) และอินเทอร์เน็ต เหล่านี้ เป็นต้น
แนวคิดที่ทำให้เกิดนวัตกรรมทางการศึกษา
1.
นวัตกรรมนั้นถือเป็นสิ่งแปลกใหม่ จึงส่งผลโดยตรงต่อความท้าทายของผู้ทำการวิจัยที่จะมาทำการวิจัย
2.
ผู้ที่ทำการวิจัยต้องการพิสูจน์เพื่อให้เห็นผลว่าจะสามารถใช้ได้ผลจริงหรือไม่อย่างไร
3.
มีเหตุปัจจัยโดยตรงจากการทดลองและวิจัยเพื่อที่นำมาเพื่อแก้ปัญหาทางการศึกษา
ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา
มี 5 ประเภทได้แก่
มีทั้งประเภทที่เป็นนวัตกรรมแบบใหม่หมดและนวัตกรรมที่เป็นแบบใหม่บางส่วนโดยแบ่งเป็น
5 ประเภท ได้แก่
1. นวัตกรรมด้านสื่อสารการสอน
เช่น - บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน - หนังสืออิเล็คทรอนิค
- บทเรียนCD/VCD - คู่มือการทำงานกลุ่ม
2. นวัตกรรมด้านวิธีการจัดการเรียนการสอน
เช่น - การสอนแบบร่วมมือ - การสอนแบบอภิปราย
- วิธีสอนแบบบทบาทสมมุติ - การสอนด้วยรูปแบบการเรียนเป็นคู่
3. นวัตกรรมด้านหลักสูตร
เช่น - หลักสูตรสาระเพิ่มเติม - หลักสูตรท้องถิ่น
-
หลักสูตรการฝึกอบรม - หลักสูตรกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
4. นวัตกรรมด้านการวัดและการประเมินผล
เช่น - การสร้างแบบวัดต่างๆ - การสร้างเครื่องมือ
- การประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
แนวทางในการสร้างแบบวัดผลและประเมินผลเช่น
- การสร้างแบบวัดแววครู - การพัฒนาคลังข้อสอบ
- การสร้างแบบวัดความมีวินัยในตนเอง
5. นวัตกรรมด้านการบริหารจัดการ
เช่น - การบริหารเชิงระบบ - การบริหารเชิงกลยุทธ์
- การบริหารเชิงบูรณาการ
ความหมายของเทคโนโลยี
เทคโนโลยี หมายถึง หลักการ เทคนิค วิธีการ กระบวนการ
ตลอดจนผลงานทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในระบบงานต่างๆ เพื่องานนั้นๆ ดีขึ้น
มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา
เทคโนโลยีการศึกษา หมายถึง การนำเอาหลักแนวคิด วิธีการต่างๆที่ตั้งอยู่บนรากฐานทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เข้ากับกระบวนการจัดการศึกษา
มีวัตถุประสงค์ให้ผู้เรียนมีกระบวนการเรียนการที่แปลกใหม่
และได้พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
Webmaster : Kanliya K. Social Study542